นายจ้างสามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนพิการได้อย่างยั่งยืน ตามมาตรา 35 ผ่านมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

ม.35
Share this...
นายจ้างสามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนพิการได้อย่างยั่งยืน ตามมาตรา 35 ผ่านมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ
เชิญชวนนายจ้างร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่เท่าเทียม แบ่งปันและเปิดโอกาสให้คนพิการได้แสดงศักยภาพ ติดต่อเข้ามาได้เลยที่ Line : @wiriya
เรามีสถานที่รองรับฝึกอบรมสำหรับผู้พิการมาตรา 35 ของท่าน
ทางเรายินดีบริการและให้คำปรึกษา พร้อมจัดการทุกขั้นตอนให้ท่านได้ทำตามมาตรา 35 ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยเจ้าหน้าที่ผู้ชํานาญการและมีประสบการณ์ของเรา ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
ปัจจุบันเรามี 6 องค์กร ที่เราดูแลเรื่องตามมาตรา 35
และเราหวังว่าเราจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้สนับสนุนองค์กรของท่านในเรื่องการจ้างงานคนพิการให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น
คนพิการทำงานได้มากกว่าที่ใครๆคิด
สรุปหลักเกณฑ์การจ้างงานคนพิการเบื้องต้น
รับคนพิการเข้าทำงาน สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1 เท่า
การจ้างงานคนพิการไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่เป็นการสร้างโอกาสให้กับคนพิการที่มีความสามารถอีกด้วย และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
ใครต้องจ้าง :
สถานประกอบการเอกชน รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานรัฐที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป
จ้างกี่คน :
สัดส่วนของการรับ ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการ 100 คน ต่อคนพิการ 1 คน (ถ้าเศษมากว่า 50 จะต้องมีคนพิการเพิ่มอีก 1 คน ตัวอย่าง ลูกจ้าง 150 คน ต่อคนพิการ 1 คน, ลูกจ้าง 151 คน ต่อคนพิการ 2 คน)
นับลูกจ้างเมื่อไหร่ :
ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี
ถ้าไม่จ้างคนพิการ ต้องทำไร :
ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนช่วยเหลือคนพิการแทน หากไม่ส่งเงินเข้ากองทุน ส่งล่าช้า หรือ ส่งไม่ครบถ้วน อาจมีการเรียกเก็บเบี้ยปรับเพิ่มเติม
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
– ส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ : เปิดโอกาสให้คนพิการได้มีงานทำและมีรายได้ แสดงความสามารถ
– ลดความเหลื่อมล้ำ : สร้างสังคมที่เท่าเทียมและเป็นธรรม
– พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ : สนับสนุนให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้
เพราะคนพิการทำอะไรมากกว่าที่ใครๆ คิด